หลักสูตร

หลักสูตรที่ทันสมัยและตอบโจทย์ทุกรูปแบบการเรียนรู้

เป็นระยะเวลากว่า 5 ทศวรรษ ที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพทำให้เราผลิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีความชำนาญสูงในการบริหารจัดการธุรกิจสื่อ กระบวนการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ การประยุกต์ใช้หลักการวิจัย และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ปัจจุบันคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนให้บริการทั้งหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ที่หลากหลายทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนที่ตอบโจทย์วิถีชีวิต

PhD

1

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อและการสื่อสาร) (PhD) (ภาคปกติ)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อและการสื่อสาร)

MA

2

หลักสูตร วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารศึกษา) (MA) (ภาคปกติ)

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารศึกษา)

MCA

3

หลักสูตร วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสื่อและเนื้อหา) (MCA) (ภาคพิเศษ)

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสื่อและเนื้อหา)

MCM

4

หลักสูตร วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการสื่อสารองค์กร) (MCM) (ภาคพิเศษ)

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการสื่อสารองค์กร)

คำถามเกี่ยวกับการเรียน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร PhD

Q: PhD เน้นการศึกษาเรื่องอะไร?

A: หลักสูตรเน้นให้นักศึกษาสามารถมีความเป็นผู้นำทางสังคม สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ และชี้นำปัญหาทางการสื่อสาร เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมให้กับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสื่อและการสื่อสารในทุกระดับและทุกประเภท มีจริยธรรมและคุณธรรม นำสังคมไปสู่การพัฒนาในระดับชาติและระดับสากล รอบรู้ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย ด้านสื่อและการสื่อสาร อย่างลึกซึ้ง

Q: สมัครสอบได้เมื่อไหร่?

A: การเปิดรับสมัครจะมีทุกปี โดยอยู่ราวเดือนมกราคม 

Q: สมัครเรียนได้ที่ไหน?

A: เรารับสมัครเรียนผ่านระบบ online ท่านสามารถกรอกใบสมัครได้ที่  http://grad.jc.tu.ac.th

Q: หลักสูตรรับนักศึกษาใหม่ปีละกี่คน?

A: หลักสูตรรับนักศึกษาปีละไม่เกิน 5 คน การเปิดรับสมัครจะมีปีละหนึ่งครั้ง นักศึกษาทุกคนจะเริ่มเรียนวิชาต่าง ๆ ตามลำดับที่เหมาะสมอย่างพร้อมเพรียงกัน

Q: เรียนที่ไหน?

A: เรียนที่ท่าพระจันทร์

Q: เรียนวันธรรมดาหรือเรียนวันเสาร์-อาทิตย์?

A: เป็นหลักสูตรภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
    โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้องเข้าฟังบรรยายสัปดาห์ละ 3 วัน

Q: ต้องใช้เวลาเรียนนานกี่ปี?

A: เป็นหลักสูตร 3 ปี นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเรียน (Course work) 1 ปีครึ่ง 
และหลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งระยะเวลาการวิจัยในระดับปริญญาเอกมักจะขึ้นอยู่กับการวางแผนการวิจัยของนักศึกษาเป็นสำคัญ 

 
Q: ถ้าเรียนจบปริญญาตรี-โท มาในสายอื่น จะมีปัญหาเรื่องความเข้าใจเนื้อหา PhD หรือไม่?

A: ไม่มีปัญหา เนื่องจากในหลักสูตรจะพิจารณาให้ผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนโดยตรง ได้จดทะเบียนเรียนรูปแบบ Audit ในหลักสูตรระดับปริญญาโท ก่อนเริ่มเรียนวิชาหลัก

Q: จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อนที่จะสมัครเรียน PhD หรือไม่?

A: ท่านไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน อย่างไรก็ตามหากท่านเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัยโดยอาชีพ หรือมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัย จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

Q: ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในปีการศึกษานี้ สามารถสมัครสอบได้หรือไม่?

A: สามารถสมัครสอบได้ แต่จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทก่อนการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ของ PhD (ประมาณเดือนสิงหาคม)

Q: มีข้อกำหนดเรื่องเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อหรือไม่?

A: มีการกำหนดค่าระดับเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า

Q: ยังไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษสามารถสมัครสอบได้หรือไม่?

A: สามารถสมัครสอบได้ โครงการอนุโลมให้ส่งผลสอบภาษาอังกฤษได้ก่อนวันสอบสัมภาษณ์
    กรณีผู้ที่มีคะแนนหรือระดับการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งพิจารณาเข้าศึกษา

Q: ผลการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ มีอะไรบ้าง?

A: คะแนนหรือระดับการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) ดังนี้

คะแนนการทดสอบความรู้ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
(1) TOEFL (Paper-based) 
(2) TOEFL - ITP (Institutional Testing Program)
(3) TU - GET (Paper-based)

คะแนนการทดสอบความรู้ที่ระดับ 61 คะแนนขึ้นไป
(1) TU - GET (Computer-based)
(2) TOEFL (Internet-based)

คะแนนการทดสอบความรู้ที่ระดับ 6.0 ขึ้นไป
(1) IELTS

Q: TU-GET เปิดสอบเมื่อไรบ้าง และสามารถสมัครสอบ TU-GET ได้ทางไหน?

A: TU-GET เปิดสอบทุกเดือน ดูรายละเอียดที่ https://litu.tu.ac.th/testing/tu-get/ 
    หรือสอบถามรายละเอียดโดยตรงที่สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 02-696-6018 หรือ 08-7972-7755 ในวันเวลาราชการ

Q: สอบสัมภาษณ์จะถามเกี่ยวกับเรื่องอะไร?

A: การสอบสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ความพร้อม ความตั้งใจในการเข้าศึกษาต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน และอาจให้อธิบายเพิ่มเติมจากโจทย์ข้อสอบข้อเขียน รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบันต่าง ๆ

Q: ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณเท่าไร?

A: ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 120,000 บาท หนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค แต่ละภาคมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,400 บาท และถ้าเป็นภาคแรกจะมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางของมหาวิทยาลัย (เช่น ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ ค่าห้องสมุด) จึงอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าภาค 2-3 เล็กน้อย

Q: เริ่มเปิดเรียนเมื่อไร?

A: หลักสูตร PhD เปิดเรียนภาคการศึกษาแรกเดือนสิงหาคม ของทุกปี

Q: สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทางไหน?