หลักสูตร

ระดับปริญญาโท วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารศึกษา) (MA) (ภาคปกติ)

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการต่อยอดหรือเพิ่มความรู้เชิงลึกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิจัยด้านการสื่อสาร ในหลากหลายมิติ ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

     ภาษาไทย ชื่อเต็ม วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารศึกษา)

     ชื่อย่อ ว.ม. (สื่อสารศึกษา)

     ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Master of Arts (Communication Studies)

     ชื่อย่อ M.A. (Communication Studies)

ปรัชญาของหลักสูตร

     ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า วิชาชีพด้านสื่อและการสื่อสารเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญและความรับผิดชอบสูงต่อบุคคลและสังคม ดังนั้นผู้ผลิตและสร้างสรรค์สื่อต้องจำเป็นอาศัยวิชาการ ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ที่ก้าวหน้าและกว้างขวาง เพื่อปฏิบัติงานในวิชาชีพด้านนี้ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษา จึงเปิดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดทฤษฎีและวิธีการแสวงหาความรู้ทางด้านสื่อสารศึกษา เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการประเมินผลวิจัยการสื่อสาร อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสังคมโดยรวมที่กำลังเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ต่อไป

ความสำคัญของหลักสูตร

     แม้จะมีการขยายตัวทางด้านสื่อสารในประเทศไทยอย่างมากก็ตาม แต่ความพยายามที่จะนำการสื่อสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศก็ยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร โครงการพัฒนาต่าง ๆ จึงยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย สาเหตุสำคัญเนื่องจากขาดการวางนโยบายและวางแผนด้านการสื่อสารทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจในด้านทฤษฎี เทคนิค กลยุทธ์และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้การสื่อสาร เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศยังไม่เพียงพอและสมบูรณ์เท่าที่ควร เพราะขาดการค้นคว้าวิจัยที่จริงจังและน่าเชื่อถือ การเปิดสอนหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษานี้ จะช่วยปิดช่องว่างดังกล่าวและเอื้ออ านวยต่อโครงการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างมากโดยอาศัยการสร้างบุคคลากรที่มีทุนความรู้และศักยภาพการวิจัยทางสื่อสารศึกษา

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     เพื่อให้บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้

     1) มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสาร

     2) มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการแสวงหาความรู้ทางด้านการสื่อสาร

     3) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยการสื่อสารในประเด็นที่เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ของสังคม

     4) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสื่อและการสื่อสารได้

ระบบการจัดการศึกษา

     ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ

     มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 หรือต่อจากภาคการศึกษาที่ 2 ในชั้นปีการศึกษาที่ 1 และหรือปีการศึกษาที่ 2

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

     วัน – เวลาราชการปกติ เรียนวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น.

     ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – ธันวาคม

     ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม

     ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

     ตลอดหลักสูตร 66,600 บาท ภาคการศึกษาละ 16,500 บาท     

รายวิชาที่น่าสนใจ

     -การเล่าเรื่องและการสร้างสรรค์สาร
     -การสื่อสารการตลาดและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
     -สัมมนาการสื่อสารในบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
     -การสื่อสารกับประเด็นทางสังคม

หลักสูตรทั้งหมด